lamborghini

lamborghini

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พื้นฐานการถ่ายภาพ : สปีดชัตเตอร์ ถ่ายภาพหยุดการเคลื่อนไหว Fast stop

กล้องถ่ายภาพแบบ DSLR สามารถหยุดภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวแล้วมันทำได้อย่างไรมาดูกัน

คุณสมบัติอันโดดเด่นอีกประการหนึ่งของกล้องถ่ายภาพแบบ DSLR ก็คือความสามารถในการใช้สปีดชัตเตอร์ (Shutter Speed) ที่ มีความเร็วสูงในการหยุดภาพตัวแบบที่กำลังเคลือนไหวได้
ระบบกระจกสะท้อนภาพและม่านชัตเตอร์คือหัวใจ ของการเปิดและปิดรับแสงอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่ไม่มีใน กล้องระดับล่างลงมา ทำให้กล้องคอมแพ็คตัวเล็กยังไม่ สามารถมีความเร็วสูงเท่ากับ DSLR ได้
ความเร็วสูงในระบบชัตเตอร์ของกล้องช่วยให้เรา สามารถที่จะบันทึกภาพหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุใน รูปแบบต่างๆ ได้ ซึ่งมันมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพใน หลายๆ ลักษณะ เช่น ภาพรถยนต์กำลังวิ่ง นกบิน ภาพ กีฬา ฯลฯ ช่วยให้เราสามารถเห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ สายตาปกติไม่สามารถมองเห็นได้ผ่านภาพถ่าย
ในวงการถ่ายภาพ ช่างภาพที่มักจะเกี่ยวข้องกับการ ใช้งานสปีดชัตเตอร์สูงๆ ได้แก่ ช่างภาพข่าว, ช่างภาพกีฬา และช่างภาพสัตว์ป่า ฯลฯ ซึ่งต้องการการหยุดความเคลื่อน ไหวที่เกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีให้นิ่งสนิท ซึ่งหากทำไม่ได้ก็จะ หมายถึงภาพที่ไม่สามารถดูเหตุการณ์รู้เรื่องได้
ส่วนในการใช้งานกล้องถ่ายภาพทั่วๆไป โดยปกติก็มัก จะมีเหตุการณ์ที่ต้องการสปีดชัตเตอร์สูงอยู่บ่อยๆ เช่น การ ถ่ายภาพสัตว์เมื่อไปเที่ยว การถ่ายภาพเด็กๆ ในสนามเด็กเล่น การถ่ายภาพ Action ของกิจกรรมในหมู่เพื่อนฝูง แม้กระทั่ง การถ่ายภาพเพื่องานอดิเรกต่างๆ ก็ยังมีโอกาสใช้งาน อย่างเช่น ภาพมาโคร เป็นต้น
หลายๆ ครั้งที่เราใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพจะพบว่าสาเหตุ ของการที่ภาพสั่นไหวก็เพราะการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เกินไป หรือในบางเหตุการณ์อาจจะต้องการสปีดชัตเตอร์ ที่ต่างกัน เช่น 1/125 วินาที อาจจะใช้ถ่ายภาพบุคคลได้ตาม ปกติ แต่เมื่อเป็นคนวิ่งอาจจะต้องใช้สปีดชัตเตอร์ที่สูงกว่า นั้น ไม่อย่างนั้นคนวิ่งก็อาจจะสั่น
clip_image001
หรือในการถ่ายภาพ Macro โดย ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง (ใช้มือเปล่าจับถือ) ก็อาจจะต้องการความไวชัตเตอร์ที่สูง กว่าปกติเพื่อไม่ให้ภาพเบลออันเนื่อง มาจากการสั่นไหวของมือที่ใช้ถือกล้อง การสั่นเพียงนิดเดียวก็จะทำให้ความคมชัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำเกินไป
ส่วนการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องก็ต้องการสปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงเช่นกัน เพื่อให้ระยะห่างของแต่ละภาพมีน้อยที่สุด จึงจะบันทึกความเคลื่อนไหวได้
clip_image002
ถึงแม้ว่าการใช้สปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงจะมีข้อดี มากมาย แต่เราก็ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ต้องเสียไปด้วย...
การใช้ชัตเตอร์ที่มีการเปิด-ปิดอย่างรวดเร็วนั้น จะมี จุดอ่อนก็คือ การที่จะมีปริมาณของแสงผ่านเข้าสู่ชัตเตอร์ น้อยลง ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการภาพมืดหรือที่เรียกกันว่า Under Exposure (เรียกสั้นๆ ว่า Under)
ทางออกของปัญหานี้มีอยู่หลายทาง ขึ้นอยู่กับการ พิจารณาเลือกใช้แต่ละคุณสมบัติของเราเอง
  • เลือกใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้น เพื่อให้แสงเข้ามาได้มากขึ้น แต่ก็จะทำให้ช่วงระยะชัดของภาพลดลง (ชัดตื้นขึ้น)
  • ปรับเพิ่มค่าความไวแสง (ISO) เพื่อให้เซ็นเซอร์ รับภาพมีการไวต่อแสงมากขึ้น ข้อเสียของคุณสมบัตินี้ก็คือ คุณภาพของภาพจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อความไวแสงยิ่งสูงขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์หรือรอเวลาให้แสงมีปริมาณมากขึ้น เช่น การรอถ่ายภาพช่วงที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์มีมาก หรือการใช้อุปกรณ์เสริมแสง เช่น แฟลช ก็จะช่วยได้ในระดับ หนึ่ง การเลือกช่วงเวลาถ่ายภาพที่ดีหรือในที่กลางแจ้งจะ เอื้ออำนวยให้การใช้สปีดชัตเตอร์สูงเป็นไปได้มากขึ้น แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณาและออกแบบภาพ
ในการถ่ายภาพเพื่อควบคุมการใช้งานสปีดชัตเตอร์สูงๆ นั้น เราต้องปรับเลือกโหมดการถ่ายภาพของกล้องไปที่โหมด S (Speed Shutter Priority) หรือโหมด M (Manual)
  • โหมด S คือ การที่เราเป็นผู้เลือกปรับใช้ความเร็วชัตเตอร์เอง โดยที่ระบบของกล้องจะเลือกขนาดรูรับแสง (f) ที่เหมาะสมให้
  • โหมด M คือ การที่เราต้องปรับเลือกเองทั้งความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง
การที่จะใช้สปีดชัตเตอร์เท่าไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวแบบเป็นสำคัญ เช่น
  • เด็กวิ่ง 1/200 sec. ขึ้นไป
  • รถวิ่งปกติ 1/320 sec. ขึ้นไป
  • น้ำ, หยดน้ำ, คลื่นในทะเล 1/1000 sec. ขึ้นไป
โดยที่เราอาจจะต้องลองถ่ายภาพดูก่อนโดยประมาณความเร็วของสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสม จากนั้นดูภาพที่ได้ว่าช้าเกินไปหรือไม่? หรือถ้าร็วเกินไปอาจจะปรับลดลงมาได้อีกเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น
ในส่วนของการใช้แฟลชเพื่อเพิ่ม ปริมาณแสงหรือเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว เมื่อต้องใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ นั้น เราจะ ต้องปรับให้แฟลชสามารถทำงานสัมพันธ์ กับความเร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์สูงๆ
clip_image003
โดยปกติแล้ว กล้องและแฟลชจะ ทำงานได้สัมพันธ์กันที่ความเร็วไม่เกิน 1/200 - 1/250 sec. หากชัตเตอร์เปิด- ปิดด้วยความเร็วที่สูงกว่านั้นจะทำให้ภาพ เกิดอาการดำมืดเป็นบางส่วนเนื่องจาก แฟลชยิงออกไปไม่ทันกับการปิดชัตเตอร์
ในการใช้งานแฟลชร่วมกับความไว ชัตเตอร์สูงๆ นั้น ให้เราปรับระบบของ แฟลชไปเป็นแบบHigh Speed Sync (HSS) ความเร็วสูง เพื่อให้แฟลชมีการ ยิงแสงที่ทันกับการปิดของม่านชัตเตอร์ ก็จะทำให้ไม่มีอาการภาพมืดเป็นส่วนๆ โดยเราต้องตรวจสอบวิธีการปรับมาเป็น โหมดHSS จากคู่มือของแฟลช หรือ จากคู่มือของกล้องหากเป็นการปรับเปลี่ยน ระบบให้กับแฟลชหัวกล้อง
Tip & Techniques
  • เลือกพื้นที่ที่ตัวแบบจะผ่านเข้า มาในเฟรมภาพล่วงหน้า การส่ายกล้อง ตามตัวแบบไปตลอดเวลาจะทำให้โอกาส ในการได้ภาพของเรามีน้อยลง
  • อย่าลืมสังเกตว่าขณะนั้นดวง อาทิตย์ถูกก้อนเมฆบังหรือเปล่า? การ รอให้มันออกจากก้อนเมฆจะทำให้แสง มีปริมาณมากขึ้น
  • แนบแขนกับลำตัวหรือหาที่พิง จะช่วยให้ภาพนิ่งมากขึ้น
Equipments
เลนส์ไวแสงจะช่วยให้สามารถใช้สปีดชัตเตอร์ได้สูงขึ้นโดยช่วยในเรื่อง ความสว่างของภาพ ซึ่งข้อเสียของการใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ คือมีแสงเข้าสู่ เซ็นเซอร์น้อย ทำให้ภาพมืด (Under Exposure)
อุปกรณ์เสริมหลายๆ ชนิดจะช่วย ให้การถ่ายภาพโดยใช้ความไวชัตเตอร์ สูงของเราราบรื่นมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้น คือ เลนส์ไวแสงที่มีช่องรับแสงกว้างๆ เพราะช่วยให้ภาพสว่างมากขึ้น
ขาตั้งกล้องก็สามารถช่วยในเรื่อง นี้ได้เช่นกัน แต่เราควรจะใช้ร่วมกับ สายลั่นชัตเตอร์ และต้องเข้าใจว่าต้อง แลกมาด้วยความคล่องตัวที่จะน้อยลง อย่างแน่นอน
การ์ดหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลเร็วขึ้น ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ดีขึ้น
จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุด การเคลื่อนไหวของตัวแบบหาใช่เพียงแค่การปรับเลือกใช้ สปีดชัตเตอร์สูงๆ เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังต้องประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจ ในอีกหลายๆ ด้านในเรื่อง ของแสง จึงจะสามารถถ่ายภาพหยุดการเคลื่อนไหวแล้วได้ภาพที่ออกมาดี
อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนด้วยการปฏิบัติจริงจะเป็น สิ่งที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจทั้งหมดได้ดีที่สุด ซึ่งในขณะถ่าย ภาพอาจจะเกิดสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมและเกิน คาดคิด (และหลายๆ อย่างก็ไม่เป็นไปตามที่คิด) ซึ่งความ เข้าใจในเรื่องนี้จะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ ดังนั้นประสบการณ์จากการฝึกฝนจริงจะสำคัญที่สุด
ที่สำคัญก็คือ ความพร้อมของอุปกรณ์ ทั้งกล้องและ อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ภาพหยุดการเคลื่อน ไหวของเราเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น จึงควรเตรียมตัวให้พร้อม อยู่ตลอดเวลา

อ้างอิงจาก http://photographer-technical.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

GPS


ความหมายและส่วนประกอบของ GPS

GPS (Global Positioning System) คือระบบบอกตำแหน่งพิกัด บนพื้นโลก โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกานำมาใช้งานในทางทหาร เพื่อการคำนวณค่าตำแหน่งพิกัดรวมทั้ง GPS ยังสามารถนำมาใช้งานในทางพาณิชย์ เพื่อการนำทาง หรือเพื่อการสำรวจการทำเหมืองแร่ และป่าไม้ ซึ่งระบบ GPS ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
          1. ภาคอวกาศ (Space Segment) ประกอบด้วย กลุ่มของดาวเทียม 3 ค่าย คือ อเมริกา รัสเซีย ยุโรป GPS ที่โคจรรอบโลก สองรอบใน 1 วัน ซึ่งจะส่งสัญญาณเวลา ที่มีความแม่นยำสูง และข้อมูลที่สำคัญอื่นๆ ที่จะใช้ในการคำนวณ ตำแหน่งพิกัด ไปยังทุกจุดบนพื้นโลก ตลอด 24 ชั่วโมง
          2. ภาคพื้นโลก (Ground Segment) ประกอบด้วย กลุ่มของสถานีควบคุมดาวเทียม ทำหน้าที่ควบคุม วงโคจรดาวเทียม   คำนวณวงโคจรและตำแหน่งดาวเทียม ตรวจวัดความผิดพลาดของวงโคจร ปรับแก้ความถูกต้อง ของสัญญาณเวลา นำข้อมูลทั้งหมดมาปรับแก้ ก่อนส่งข้อมูลที่ถูกต้อง ขึ้นไปที่ดาวเทียม เพื่อส่งสัญญาณลงมายังผู้ใช้ ทั่วโลก และยังมีศูนย์ควบคุมย่อยอีก 5 จุดกระจายไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก   
          3. ภาคผู้ใช้ (Users Segment) ประกอบด้วย ผู้ใช้งาน และ เครื่องบอกตำแหน่งพิกัด ซึ่งก็คือ เครื่องรับสัญญาณGPS (GPS Receiver) ที่รับข้อมูล ต่างๆ จากดาวเทียมแล้วนำมาคำนวณและประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งาน และหาตำแหน่งพิกัดของเครื่อง
ส่วนผู้ใช้งาน ผู้ใช้งานต้องมีเครื่องรับสัญญาณที่สามารถรับคลื่นและแปรรหัสจากดาวเทียมเพื่อนำมาประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ

ส่วนประกอบของเครื่องรับสัญญาญาณดาวเทียม  GPS
โดยทั่วไปเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม  (Receiver)  ประกอบด้วย  3  ส่วนคือ
1.  ตัวเครื่อง  (Body)
2.  ส่วนให้พลังงาน  (Power  Supply)
3.  ส่วนเสาอากาศ  (Antenna)

ประเภทเครื่องรับสัญญาณ  GPS    เครื่องรับสัญญาณ  GPS  แบ่งออกได้เป็น   กลุ่ม
    1.  เครื่องรับแบบเรียงลำดับสัญญาณดาวเทียม ได้แก่
1.1  Starved-Power  Single  Receivers  เครื่องแบบนี้ออกแบบให้พกพาได้และสามารถ ทำงานได้ด้วยถ่านไฟฉายขนาดเล็ก  การจำกัดการใช้กระแสไฟโดยให้ปิดการทำงานตัวเองโดยอัตโนมัติ  เมื่อแสดงตำแหน่งครั้งสองครั้งใน  1  นาที เหมาะสำหรับใช้งานบอกตำแหน่งส่วนตัว ข้อเสีย  คือ  ความถูกต้องของ  GPS  ไม่ดี  และต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นไม่ได้  และไม่สามารถใช้วัดหาความเร็วได้
1.2  Single  Channel  Receivers  เป็นเครื่องรับสัญญาณห้องเดียวใช้ทำงานหาระยะจากดาวเทียมทุกดวง  แต่ที่ไม่เหมือนคือเครื่องรับช่องเดียวแบบมาตรฐานไม่จำกัดที่กำลังไฟ  ดังนั้น จึงทำการรับต่อเนื่องได้  มีผลทำให้ความถูกต้องสูงกว่า  และใช้วัดหาความเร็วได้
1.3  Fast-Multiplexing  Single  Receivers  เครื่องรับนี้สามารถเปลี่ยนดาวเทียมได้เร็วกว่ามาก  ข้อดีคือ  สามารถทำการวัดได้ในขณะที่กำลังรับข้อมูลจากดาวเทียม  ดังนั้นเครื่องทำงานได้อย่างต่อเนื่อง  และการที่มีนาฬิกาไม่เที่ยงจึงมีผลต่อเครื่องประเภทนี้น้อย
1.4  Two-Channel  Sequencing  Receivers  การเพิ่มช่องรับสัญญาณขึ้นอีกหนึ่งช่องช่วยให้เครื่องเพิ่มขีดความสามารถขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
    2.  Continuous  Receivers  ได้แก่  เครื่องรับที่สามารถรับสัญญาณดาวเทียมพร้อมกันได้ตั้งแต่   ดวงขึ้นไป  และสามารถแสดงผลค่าตำแหน่งและความเร็วได้ทันทีหรือต้องการ                 ความถูกต้องสูงนอกจากข้อดีที่ใช้วัดตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง




หลักการทำงานของ  GPS
หลักการพื้นฐานของ  GPS  เป็นเรื่องง่ายๆ  แต่อุปกรณ์ของเครื่องมือถูกสร้างขึ้นด้วยวิทยาการขั้นสูง  การทำงาน GPS  คือ
1.  จะอาศัยหลักพื้นฐานของ  GPS  :  Satellites  Triangulation
                     หลักการ  :  อาศัยตำแหน่งของดาวเทียมในอวกาศเป็นจุดอ้างอิง  แล้ววัดระยะจากดาวเทียม  4  ดวง  และใช้หลักการทางเรขาคณิตในการคำนวณหาตำแหน่งบนพื้นโลก
2.  วัดระยะทางระหว่างเครื่องรับ  GPS  กับดาวเทียม  GPS  โดยการวัดระยะเวลา               ที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางจาก  ดาวเทียมสู่เครื่องรับใช้เวลาเดินทางของคลื่นวิทยุ

สูตร  :  ระยะทาง  =  ความเร็ว  *  เวลาที่ใช้เดินทาง
คลื่นวิทยุ  :  ความเร็ว  =  186,000  ไมล์ต่อนาที

การวัดระยะเวลาในการเดินทาง  คือ  โดยการเทียบกันของคลื่นสัญญาณที่ดาวเทียมส่งมากับคลื่นสัญญาณที่เครื่องรับ  GPS ส่งมา  ส่วนคลื่นที่ใช้ในการส่งจะเป็น  Pseudo  Random          Noise  Code
3.  การวัดระยะเวลาที่คลื่นวิทยุใช้ในการเดินทางของ  GPS  จะต้องใช้นาฬิกาที่          แม่นยำมาก  ถ้า  PRN  CODE จากดาวเทียมมีข้อมูลเวลาที่คลื่นเริ่มออกเดินทางจากดาวเทียมเมื่อคลื่นสัญญาณจากดาวเทียมและคลื่นสัญญาณจากเครื่องรับ GPS  สมวารกัน  (Synchronize)             และจะต้องใช้  Atomic  Clock  ในการวัดเวลา  ส่วนเวลาที่ใช้ในการเดินทางจะสั้นมากประมาณ            0.06  วินาที  คือเวลาของเครื่องรับ  GPS  *  เวลาของดาวเทียม  ส่วนการบอกตำแหน่ง  GPS            ยังเป็นเวลาที่มีความแน่นอนถึง  10  นาโนวินาทีหรือดีกว่า
4.  ต้องรู้ตำแหน่งของดาวเทียม  GPS  ที่แน่นอนในอวกาศ
 วงโคจรสูงมากประมาณ  11,000  ไมล์
 วงโคจรอาจคลาดเคลื่อน  (Ephemeris  Errors)  เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของ
ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
         สถานีควบคุมจะใช้เรดาร์ตรวจสอบการโคจรของดาวเทียม  GPS  ตลอดเวลาแล้วส่ง
ข้อมูลไปปรับแก้ข้อมูลวงโคจรและเวลาของดาวเทียม  เมื่อข้อมูลได้รับการปรับแก้แล้วจะถูกส่งมายังเครื่องรับ GPS
                5.  ต้องแก้ไขความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการเดินทางของคลื่นวิทยุมาสู่โลกสาเหตุที่ของความคลาดเคลื่อน  (GPS  Errors)  ของค่าพิกัดที่คำนวณได้
         เกิดจากการเดินทางสู่ชั้นบรรยากาศ  Ionosphere  จะมีประจุไฟฟ้า  และชั้น
Troposphere  จะมีทั้งความชื้น อุณหภูมิ ความหนาแน่นที่แปรเปลี่ยนได้ตลอดเวลาใน
                         การสะท้อนของคลื่นสัญญาณไปในหลายทิศทาง  (Multipath  Error)  ซึ่งที่ผิวโลกคลื่นสัญญาณต้องกระทบกับวัตถุ  ก่อนถึงเครื่องรับ  GPS  จะทำให้มีการหักเหและสัญญาณจะอ่อน
                         ปัญหาที่เกิดจากดาวเทียม  (Check error,  Ephemeris  error)  อาจเกิดจากวงโคจรคลาดเคลื่อนเนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์หรืออาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาเพียงเล็กน้อยจะทำให้การคำนวณระยะทางผิดพลาดได้มากเนื่องจากดาวเทียมอยู่สูงมาก
                      ความสัมพันธ์ทางเรขาคณิตระหว่างตำแหน่งของดาวเทียมและตำแหน่งของเครื่องรับ GPS  ซึ่งจะคำนวณเป็นค่า  GDOP  =  Geometic  Dlution  of  recision  ซึ่งเนื่องจากลักษณะการวางตัวของดาวเทียม  และ  GDOP  มีส่วนประกอบคือ
                      อาจจะเกิดจากความผิดพลาดอื่นๆเช่น  ความผิดพลาดของคอมพิวเตอร์  หรือมนุษย์ที่ควบคุมสถานี  1  เมตร  ถึง 100  เมตร  ซึ่งผิดพลาดได้มาก  หรือความผิดพลาดของเครื่องรับ GPS,  Software,  Hardware,  ผู้ใช้  ซึ่งความผิดพลาดนี้ไม่แน่นอน





ข้อดีของระบบ  GPS
·       รู้ทุกเส้นทางที่รถไปมา  รวมถึง  วัน  เวลา  ความเร็ว  ทิศทาง  ระยะทางทั้งหมด
·       ใช้ได้ทั้งการคมนาคมทั้งทางบก  ทางน้ำ  หรือในอวกาศ
·       ประหยัดรายจ่ายและค่าน้ำมัน  เพิ่มเที่ยวขนส่งงานโดยไม่เพิ่มจำนวนรถ
·       ไม่มีค่าใช่จ่ายรายเดือน
·       ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกเลย  ในการใช้งาน  และสามารถบันทึกข้อมูลได้สูงสุดถึง 13,000 ครั้งต่อวัน  (ซึ่งระบบReal-Time ทำไม่ได้)
·       เป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจได้ดี  ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบติดตามยานพาหนะ     BG-FLEET Management


ข้อเสียของระบบ  GPS
·       เครื่องรับสัญญาณบางประเภทราคาแพง
·       รางถ่านบางประเภทอาจมีปัญหา  ถ้านำไปขี่จักรยานอาจจะดับได้ง่ายๆ  แต่สามารถแก้ไขได้โดยการโมรางถ่านนิดหน่อย
·       อาจเกิดปัญหาที่เกิดจากดาวเทียม  (Check error,  Ephemeris error)  อาจเกิดจาก           วงโคจรคลาดเคลื่อน เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์หรืออาจจะเกิดจากความคลาดเคลื่อนของนาฬิกาเพียงเล็กน้อยจะทำให้การคำนวณระยะทางผิดพลาด              ได้มากเนื่องจากดาวเทียมอยู่สูงมาก
·       การต่อเชื่อมกับอุปกรณ์อื่นและความสะดวกบางเครื่องแสดงได้เฉพาะพิกัดภูมิศาสตร์           บางเครื่องไม่สามารถต่อเข้ากับเครื่องมืออื่นหรือคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก  (PC)  ได้        
        และข้อใหญ่ที่ต้องพิจารณา ความแข็งแรงทนทานถ้าต้องใช้เครื่องทำงานในพื้นที่ทะเล 
        หรือในพื้นที่ป่าเขา  การใช้ไฟและความร้อนที่เกิดขึ้นเป็นตัวชี้สำคัญที่จะต้องเอาใจใส่



ประโยชน์  และการนำไปประยุกต์งานเชิงสร้างสรรค์









ด้วยความสามารถของ  GPS  ทำให้เราสามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย  ตัวอย่างเช่น
1.       Mobile  Telecommunications  เช่น  บอกตำแหน่งของคู่สนทนา  การหาตำแหน่งที่เราอยู่(ในกรณีที่เราหลงทาง)  เป็นต้น     
2.       การเดินเรือ  เช่น  บอกตำแหน่งของผู้บุกรุกน่านน้ำของประเทศใดๆ  เพื่อที่จะทำการสกัดจับได้ทันท่วงที่ บอกตำแหน่งของสัตว์ที่เราต้องการในบริเวณนั้นๆได้อย่างสะดวกและตรงตามที่ต้องการเพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย  เป็นต้น 
3.       การคมนาคมในอวกาศ  (Space  navigation)  เช่น  การบอกตำแหน่งที่อยู่ของอุกกาบาต  ที่อยู่ในระยะที่เป็นอันตรายต่อโลก  เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับอันตรายที่จะเกิดขึ้น  บอกตำแหน่งของ  UFO  หรือวัตถุแปลกปลอมที่จะเข้ามาบุกรุกและทำลายล้างมวลมนุษยชาติ  เป็นต้น
4.       การเชื่อมโยงกับระบบการสื่อสาร  (Position  and  Telecommunication)  เช่น  บอกตำแหน่งของสิ่งที่เราอยากรู้ทุกอย่างที่อยู่บนโลกนี้โดยผ่านทางระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือผ่านทางโทรศัพท์มือถือซึ่งสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา  เป็นต้น    
5.       การหาตำแหน่งหรือติดตามยานพาหนะที่เคลื่อนที่  (Automatic  Vehicle  Location)  เช่น  บอกตำแหน่งของยี่ห้อ  รุ่น  และสีของรถที่วิ่งอยู่บนถนนได้  เพื่อช่วยในการตามหารถที่ถูกขโมยมาหรือจะตามรถที่มีการกระทำความผิดแล้วหลบหนีการจับกุม  เป็นต้น    
6.       การสร้างแผนที่  (Mapping)  เช่น  บอกตำแหน่งของขุมทรัพย์ของโจรสลัด  สร้างแผนที่การจราจรทางอากาศ การสร้างแผนที่การจราจรทางน้ำ  สร้างแผนที่การวางไข่ของสัตว์น้ำ  สร้างแผนที่การอพยพของนก  เป็นต้น       
7.       การวางแผนในการสำรวจเบื้องต้น  (Survey)  เช่น  การบอกตำแหน่งของสิ่งที่เราต้องการสำรวจ  เช่น  ทอง น้ำมันกลางอ่าวไทย  ฯลฯ    
8.       สิ่งแวดล้อม  (Environment)  เช่น  บอกตำแหน่งที่เกิดไฟไหม้ป่า  ตำแหน่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า  บอกตำแหน่งของสัตว์ป่าที่หายากและใกล้สูญพันธุ์  เป็นต้น
9.       บอกตำแหน่งของสิ่งของมีค่าที่เราทำหายไปได้  โดยที่เราสมารถระบุลักษณะของสิ่งของสิ่งนั้นได้  ว่าสิ่งของที่ต้องการให้หานั้นมีลักษณะอย่างไร  แล้วเครื่องนี้ก็สามารที่จะค้นหาให้เราได้อย่างถูกต้องและตรงกับความต้องการ  แต้ต้องมีระบุสถานที่ที่เราทำของหายได้อย่างถูกต้อง
10.    บอกตำแหน่งของสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งที่ไม่มีชีวิตที่เราไม่สามารถมองเห็นได้  แต่เราสามารถรับรู้ได้ด้วยความรู้สึก เช่น  การบอกตำแหน่งของวิญญาณหรือที่เราเรียกกันว่า  ผี ซึ่งเป็นพลังงานรูปหนึ่ง  เครื่องนี้จะทำหน้าที่บอกตำแหน่งของสิ่งที่เรามองไม่เห็น  แล้วเราก็ใช้กล้องหรืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ว่าผีมีจริงหรือไม่        





วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กฎข้อบังคับและมาตรฐานในระบบโทรคมนาคม

กฎข้อบังคับและมาตรฐานในระบบโทรคมนาคม
องค์การมาตรฐานทางด้านการสื่อสารที่จัดตั้งเป็นองค์การมาตรฐานแล้วและมีหน้าที่กำหนดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ทางด้านการสื่อสารครอบคลุมสำหรับโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน ให้สามรถมีอิสระในการเลือกซื้อและใช้บริการเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU คณะกรรมการมาตรฐานด้านโทรคมนาคม T1 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และสมาคมอุตสาหกรรม TIA สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป ETSI คณะกรรมการเทคโนโลยีโทรคมนาคมประเทศญี่ปุ่น TTC และสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ IEEE


บทนำ
รูปแบบการสื่อสารในระยะแรก ๆ เกิดขึ้นในระดับนานาชาติ ดังนั้นองค์การมาตรฐานจึงมีการควบคุมปฏิกิริยาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงต่อสหประชาชาติ เป็นองค์การมาตรฐานประสานงานทั่วโลก มันเป็นองค์การของรัฐระหว่างประเทศผู้ซึ่งมีความสำคัญที่สุดที่ได้รับอำนาจโดยฝ่ายบริหารของประเทศต่าง ๆ ในการควบคุมของส่วนโทรคมนาคม นอกจากนี้ยังมีองค์การมาตรฐานอื่นที่จะครอบคลุมถึงทั้งในระดับภูมิภาค เช่น สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป ที่ระดับภาคพื้นยุโรป เป็นต้น คณะกรรมการมาตรฐานด้านโทรคมนาคม ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา สมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คณะกรรมการเทคโนโลยีโทรคมนาคมประเทศญี่ปุ่น


เหตุผลและความจำเป็นของการมีกฎข้อบังคับและมาตรฐาน
มาตรฐานการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากผู้ใช้งานจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้มาตรฐานของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำไปใช้งานกับระบบการสื่อสารต่าง ๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับประเทศ เพราะมาตรฐานจะเป็นตัวกำหนดการทำงานได้ทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดการยอมรับทางเทคโนโลยีที่จะต้องใช้ร่วมกันทั้งในส่วนอุปกรณ์ และส่วนชุดคำสั่ง ระบบหรือขบวนการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้ ดังนั้นมาตรฐานจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้ให้บริการในแง่มุมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


ผลกระทบต่อผู้ผลิต
มาตรฐานเป็นสิ่งที่กำหนดความอยู่รอดของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เลยก็ว่าได้ ถ้าหากมีการออกแบบสินค้าออกมาจำหน่ายโดยไม่ได้อ้างอิงมาตรฐาน และคุณภาพของอุปกรณ์ที่จะใช้ติดตั้ง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ส่วนอื่นได้ไม่ดีพอ ด้วยเหตุนี้ผลงานด้านการขายจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการประชุมเพื่อหาข้อตกลงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่รับรองการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางและมั่นใจ เช่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไอบีเอ็ม ได้รับความน่าเชื่อถือของมาตรฐานเกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


ผลกระทบต่อผู้ใช้งาน
ถือเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับผู้ใช้งานหากได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีการรับรองมาตรฐานทางอุตสาหกรรม นั่นหมายความว่า อุปกรณ์นั้น ๆ สามารถที่จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานเดียวกันได้อย่างดีไม่ว่าจะเป็นการต่อประสาน การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และมาตรฐานอื่น ๆ ที่มี



ผลกระทบต่อผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการโครงข่ายจำเป็นต้องรู้ เข้าใจและติดตามมาตรฐานตั้งแต่ในขั้นตอนขบวนการจัดทำมาตรฐานและรู้มาตรฐานของผู้ผลิตไม่เพียงแต่ด้านของส่วนอุปกรณ์ แต่ต้องติดตามมาตรฐานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อจะไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการร่วมทำงานกับมาตรฐานอื่นได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อประสานกับโครงข่ายอื่นหรืออุปกรณ์อื่นที่มีมาตรฐานแตกต่างกัน


องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ 
มาตรฐานทางอุตสาหกรรม และการรวมกลุ่มเพื่อสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เกิดจากการทำงานขององค์การต่าง ๆ ที่มีหน้าที่สร้างมาตรฐาน ส่วนเรื่องการตลาดและลักษณะการใช้งานได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกสรรเทคโนโลยีและความเป็นไปได้ของการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานได้ตามข้อกำหนดที่มีอยู่ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะผลิตขึ้นมาจากต่างบริษัทกันก็ตาม องค์การที่กำหนดมาตรฐานขึ้นมาใช้จะจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการสร้างมาตรฐานโดยยึดหลักการในด้านการาขายหรือการตลาดและผู้ใช้งานเป็นหลัก ในขณะที่การกำหนดแนวทางในด้านอุตสาหกรรมจะกำหนดทั้งส่วนผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เพราะองค์การที่กำหนดมาตรฐานนั้นก็จะประกอบด้วยทั้งผู้ใช้งานและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์
ในปัจจุบันองค์การที่กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมมีความสำคัญมาก และมีองค์การต่าง ๆ ก่อตั้งขึ้นมาอีกมากมาย เพื่อสร้างมาตรฐานร่วมกันขึ้นมารองรับผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตออกวางจำหน่าย ในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงองค์การมาตรฐานระหว่างประเทศก่อน ซึ่งประกอบด้วยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศถือเป็นองค์การรัฐบาลระหว่างประเทศที่มีแต่ละประเทศ สมาชิกของสหประชาชาติเป็นตัวแทน ซึ่งมีสิทธิในการออกเสียง นอกจากนี้ยังมีสมาชิกที่เป็นผู้ให้บริการ ผู้ผลิต องค์การอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เป็นสมาชิกร่วมทำงานแต่มีสถานะที่ต่ำกว่า หน่วยงานบริการประชาชาติแบ่งส่วนการทำให้เป็นมาตรฐานออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนทำให้เป็นมาตรฐานโทรคมนาคม
ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ดำเนินการเกี่ยวกับการทำให้เป็นมาตรฐานโทรคมนาคม รวมถึงการสื่อสารวิทยุ กำหนดกฎข้อบังคับทางด้านโทรคมนาคม และให้การสนับสนุนประเทศที่พัฒนาระบบโทรคมนาคม
เป็นที่น่าสังเกตว่า ITU-T เป็นผู้รับช่วงของคณะกรรมการที่ปรึกษาการโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ CCITT ของ ITU ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสารวิทยุ-ข่ายงาน เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานและในลักษณะคล้ายกัน ITU-R เป็นผู้รับช่วงของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยุระหว่างประเทศและสำนักงานการจดทะเบียนความถี่ระหว่างประเทศ ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศและส่วนพัฒนาเป็นส่วนงานใหม่ที่พึ่งดำเนินการในปี พ.ศ.2532


สหภาพโทรคมนาคม-โทรคมนาคม (ITU-T)
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU
ITU เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น มาจากความร่วมมือของรัฐบาลประเทศสมาชิกในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อรับผิดชอบด้านการกำกับดูแล (regulation) การจัดทำมาตรฐาน (standardization) และการพัฒนากิจการโทรคมนาคมของโลก รวมทั้ง การบริหารและจัดการระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับสเปกตรัมความถี่วิทยุ (radiofrequency spectrum) ตลอดจนกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะนำเอาไปใช้สำหรับควบคุมการเข้าถึง (Access to) และการใช้ประโยชน์ (Use) จากวงโคจรดาวเทียม (satellite orbits) ทั้งหลายของประเทศต่างๆ


วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลักโดยทั่วไป ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ประกอบด้วย เพื่อให้มีการพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศของมวลสมาชิก ในอันที่จะให้มีการวิวัฒนาการ และการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับระบบและชนิดต่างๆ ของกิจการสื่อสาร โทรคมนาคม อย่างเหมาะสม
1. เพื่อส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่องที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสาร โทรคมนาคม รวมถึงการส่งเสริมการดำเนินการด้านต่างๆ และด้านเงินทุนที่จำเป็นสำหรับใช้ดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ
2. เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาในส่วนของคุณสมบัติต่างๆ ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ทั้งนี้เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านการควบคุม และ/หรือการใช้งานอย่างเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วย
3. เพื่อส่งเสริมให้มีการกระจายการใช้ประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยไป (เช่น บริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่หลากหลาย และบริการเสริมอื่นๆ ตามความต้องการ) ไปสู่มวลมนุษยชาติ
4. เพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ จากการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อย่างสันติวิธี
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมวลสมาชิกเพื่อจักได้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้



IEEE คืออะไร
       IEEE ย่อมาจาก The Institute of Electrical and Electronics Engineers คือ มาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งกำหนดโดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ สถาบัน IEEE เป็นสถาบันที่กำกับ ดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบวัดคุม



บทสรุปต่อมาตรฐาน Wireless-N
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงสรุปได้ว่าข้อกำหนด IEEE 802.11n หรือ Wireless-N ซึ่งมีการแจ้ง
ประชาสัมพันธ์ผ่านผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่าสามารถรองรับการสื่อสารได้ด้วยอัตราเร็วถึง 600 เมกะบิตต่อ
วินาทีนั้น แท้ที่จริงแล้วย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ บางสิ่งก็สามารถเลือกปรรับและ
กำหนดค่าได้โดยตัวผู้ใช้งาน แต่อีกหลายสิ่งก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น หากติดตั้ง
อุปกรณ์ Wireless-N โดยต้องให้ส่งกระจายความถี่ย่าน 2.4 กิกะเฮิรตซ์ หากพบว่าในพื้นที่โดยรอบมี
ผู้อื่นใช้ย่านความถี่ดังกล่าวแม้เมื่อเปลี่ยนช่องไปแล้ว ก็ไม่สามารถใช้ความถี่ได้ครบ 4 ช่อง หรืออาจจะ
เป็นเพราะตัวเครื่อง Access Point หรือเครื่องคอมพิวเตอร์อีกฝั่งหนึ่งไม่รองรับการสื่อสารแบบได้
ครบทั้ง 4 สายอากาศ หรืออาจจำเป็นต้องลดแบนด์วิดธ์ในการสื่อสารต่อช่องความถี่ลงเป็น 20
เมกะเฮิรตซ์ เหล่านี้ย่อมส่งผลลดทอนต่อัตราเร็วในการสื่อสารลงได้
การใช้งานเทคโนโลยี Wireless-N ที่ย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าย่าน 2.4 กิ
กะเฮิรตซ์ ซึ่งน่าจะมีผู้ใช้งานอยู่มาก ทั้งที่เป็นมาตรฐาน Wireless-B, Wireless-G หรือแม้กระทั่งการ
ใช้งานกับระบบสื่อสารอื่น ๆ อย่าง Bluetooth เปรียบไปก็เหมือนกับสภาพการจราจรที่ยานพาหนะ
ใช้งานกันมากมาย โดยที่ไม่มีหน่วยงานผู้มีอำนาจในการจัดสรรความถี่คลื่นวิทยุยื่นมือเข้ามาควบคุม
ด้วยเหตุที่เป็นย่านความถี่แบบ Unlicensed ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตามเมื่อมีการใช้งาน
เทคโนโลยี Wireless-N มากขึ้นในอนาคต ปัญหาเดียวกันก็อาจเกิดขึ้นกับย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ได้
ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยอัตราเร็วในการสื่อสารที่ใช้เพียงช่องความถี่เดียว (สายอากาศ
ชุดเดียว) ของมาตรฐาน Wireless-N ที่รองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงสุด 150 เมกะบิตต่อวินาที
ก็นับว่าสูงมากสำหรับการใช้งานโดยทั่วไป ยิ่งเมื่อเป็นการใช้งานภายในที่พักอาศัยในยุคที่การเชื่อมต่อ
เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังต้องใช้เทคโนโลยี ADSL ที่มีอัตราเร็วในการสื่อสารไม่มากนัก เช่น 16
เมกะบิตต่อวินาทีในปัจจุบัน โดยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีเชื่อมต่อทางเลือกอื่น ๆ ที่รองรับอัตราเร็วที่สูง
มาก ๆ เช่น เทคโนโลยี Fiber To The Home (FTTH) ปัญหาคอขวดในการสื่อสารข้อมูลก็ยังคงมีอยู่
ต่อไป เทคโนโลยี Wireless LAN ที่ตอบสนองการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุด้วยอัตราเร็วสูง ๆ จึงอาจยังไม่
สามารถแจ้งเกิดได้สำหรับการใช้งานภายในบ้านพักอาศํย แต่สำหรับการใช้งานภายในอาคาร
สำนักงาน มหาวิทยาลัย ศุนย์การค้า สนามบิน รวมถึงพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ที่มีการวางโครงข่ายข้อมูล
ความเร็วสูงเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เทคโนโลยี Wireless-N ก็น่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพในการติดต่อสื่อสาร
แบบก้าวกระโดดจากมาตรฐาน Wireless LAN ที่มีใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
ผลิตภัณฑ์ Wireless-N ในท้องตลาดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีสนนราคาไม่ต่างจากมาตรฐาน
Wireless-B และ Wireless-G สิ่งที่เหลือนับจากนี้ไปคือการตั้งตารอการเติบโตของเทคโนโลยีเชื่อมต่อ
โครงข่ายสื่อสาร เพื่อแก้ปัญหาคอขวดดังได้กล่าวถึงไว้แล้ว และเมื่อวันนั้นมาถึงเราคงจะได้ดึง
ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Wireless-N รวมถึงเทคโนโลยีต่อยอดอื่น ๆ ในตระกูล IEEE 802.11 กัน
ได้อย่างเต็มที่


วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

Android

Android OS คืออะไร ระบบปฏิบัตการแอนดรอยด์
Android  OS คือระบบปฏิบัติการบนมือถือ (Operating System)ระบบปฏิบัติการ Android ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยค่าย Google ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ OpenSource จึงมีคนเริ่มดัดแปลงให้ใช้กับ Netbook ได้ด้วย

หากเป็น คอมพิวเตอร์ที่ใช้  Windows หรือ Linux เราเรียกมันว่า ระบบปฏิบัติการนั้นว่า (OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้ โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกัน มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone นั้นบริษัทแอปเปิ้ลใช้ OS ที่ชื่อว่า iPhone OS ในขณะที่บริษัทกูเกิ้ล(Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที อีกรายก็ได้ซุ่มพัฒนา OS ที่มีชื่อว่า Android(แอนดรอยด์) OS ขึ้นมา

ความแตกต่างกันของ iPhone และ Android Phone ก็คือ iPhone มีผู้ผลิตรายเดียวคือแอปเปิ้ล จะไม่มีใครในโลกนี้ สามารถเอามือถือมาลง iPhone OS กลายเป็น iPhone มาขายได้อย่างแอปเปิ้ล ในขณะที่ Android (แอนดรอยด์) Phone นั้นใครๆก็เอาไปใช้ได้ เพราะกูเกิ้ลแจก Android OS ฟรี นอกจากใช้ได้แล้ว Google ยังให้เราสามารถเข้าไปแก้ไขดัดแปลง เจ้า Android ให้เป็นเวอร์ชั่นของเราได้อีกด้วยครับ

Androin LOGO
การพัฒนา App บน Android 

ข้อมูลอ้างอิง
http://www.meewebfree.com
http://topicstock.pantip.com
http://www.gotoknow.org




[Android คืออะไร?]รู้จัก Android (แอนดรอยด์)และวิธีการเลือกซื้อมือถือ Android Phone 


android_main

Android คืออะไร?

คู่แข่ง iPhone?
วงการมือถือในปัจจุบันมีโทรศัพท์กลุ่มที่เรียกว่า SmartPhone ซึ่งคือมือถือที่ทำอะไรได้มากกว่า โทรเข้า-ออก โดยสามารถเข้าถึงบริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ตผ่าน App(แอพลิเคชั่น หรือโปรแกรม)บน Smartphone ทำให้โทรศัพท์มือถือในกลุ่ม SmartPhone เป็นอะไรที่ดึงดูดผู้ใช้งานมือถือที่ต้องการอะไรที่ใหม่ๆ เข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และเกิด LifeStyle ใหม่ๆ ซึ่งในปัจจุบัน เจ้าตลาด SmartPhone คือ iPhone ของบริษัทแอปเปิ้ล ที่โด่งดังมาตลอดในช่าม 3-5 ปีที่ผ่านมา โดยยังไม่มีใครมาทาบรัศมีได้.. แต่แล้วในปีนี้เราเริ่มจะเห็นมือถือหลายรุ่นที่มีหน้าตาการทำงานคล้ายกัน และมีความสามารถที่ทัดเทียมกับ iPhone และในบางกระแสบอกว่า ความสามารถของเจ้ามือถือนี้ ยอดเยี่ยมยิ่งกว่า iPhone เสียอีก… ผู้คนเรียกขานเจ้ามือถือหลายรุ่น หลายยี่ห้อ แต่มีหน้าตาการทำงานที่เหมือนกันนี้ว่า “Android(แอนดรอยด์) Phone”
google-android
Android(แอนดรอยด์) คืออะไร? และ Android(แอนดรอยด์) Phone คืออะไร?
วิธีที่จะเข้าใจว่า Android(แอนดรอยด์) คืออะไร? อย่างง่ายๆ ให้เราลองนึกถึง คอมพิวเตอร์ที่บ้านครับ ตอนนี้ใช้ Windows อะไรอยู่ครับ บางคนก็จะตอบว่า Windows 7, Windows Vista บางคนก็ตอบว่า Windows XP หรือบางคนอาจจะตอบว่า ผมไม่ใช้ Windows ผมใช้ Linux ซึ่งจะเป็น Linux รุ่นไหนก็ว่ากันไป … Windows หรือ Linux เราเรียกมันว่า ระบบปฏิบัติการ(OS) ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าถ้าคอมพิวเตอร์ไม่ลง Windows ก็จะเปิดเครื่องเพื่อทำงานไม่ได้ ฉันใดก็ฉันนั้น โทรศัพท์มือถือ SmartPhone ก็เช่นเดียวกันครับ มันต้องการ OS ซึ่งใน iPhone นั้นบริษัทแอปเปิ้ลใช้ OS ที่ชื่อว่า iPhone OS ครับ ในขณะที่บริษัทกูเกิ้ล(Google) บริษัทยักษ์ใหญ่แห่งวงการไอที อีกรายก็ได้ซุ่มพัฒนา OS ที่มีชื่อว่า Android(แอนดรอยด์) OS ขึ้นมา ซึ่ง Android(แอนดรอยด์) เวอร์ชั่น 1.0 ได้ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน ค.ศ 2008
android_ui
Android(แอนดรอยด์) Phone คืออะไร?
เราเข้าใจว่ามันมีระบบปฏิบัติการ iPhons OS และ Android OS แล้วนะครับ เมื่อเรานำระบบปฏิบัติการ iPhone OS ไปลงในมือถือ(เหมือนที่เราเอา Windows ไปลงในคอมพิวเตอร์) มือถือที่ลงเจ้า iPhone OS ก็จะกลายเป็นโทรศัพท์มือถือ iPhone อย่างที่เราเห็นทุกวันนี้ และเมื่อเราเอา Android OS ไปลงในมือถือ เราก็จะได้ Android Phone … แต่ความแตกต่างกันของ iPhone และ Android Phone ก็คือ iPhone มีผู้ผลิตรายเดียวคือแอปเปิ้ล จะไม่มีใครในโลกนี้ สามารถเอามือถือมาลง iPhone OS กลายเป็น iPhone มาขายได้อย่างแอปเปิ้ล ในขณะที่ Android(แอนดรอยด์) Phone นั้นใครๆก็ผลิตได้ เพราะกูเกิ้ลแจก Android OS ฟรีๆ เราจึงเห็นโทรศัพท์มือถือ Android Phone หลายรุ่นในตลาดมือถือ ซึ่งผลิตจากหลายบริษัท ทั้ง Samsung , Sony ericsson, HTC หรือแม้แต่กระทั่ง Motorola ..
Android 2.1 หรือ Android 2.2? ตัวเลขข้างหลังคืออะไร? เพื่ออะไร?
Android(แอนดรอยด์) 2.1 เป็นหมายเลขเวอร์ชั่นของ Android Phone ครับ เหมือนที่ Windows มีทั้ง Windows95, Windows 2000, Windows XP, Windows Vista ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเวอร์ชั่นที่พัฒนาต่อๆกันมาของ Windows ครับ ใน Android OS เองก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ตอนนี้ Android OS มีทั้งหมด 8 เวอร์ชั่นแล้วครับและมีชื่อเล่นสำหรับเรียกง่ายๆด้วยครับ ยกเว้นสำหรับในเวอร์ชั่น 1.0 และ 1.1 ยังไม่มีการตั้งชื่อเล่นกันครับ ส่วนเวอร์ชั่นที่มีชื่อเล่นก็ได้แก่ CupCake(Android 1.5), Donut(Android 1.6), Éclair(Android 2.1), Froyo(Android 2.2), Gingerbread(Android 2.3), Honeycomb(Android 3.0) จะสังเกตุเห็นได้ว่า ชื่อรุ่นทุกรุ่นเป็นของหวานทั้งหมดเลยครับ และในรุ่น Android ที่จะพัฒนาในอนาคตซึ่งยังไม่มีการกำหนดเลขเวอร์ชั่นก็จะมีชื่อว่า Ice Cream Sandwich อีกด้วย.. แค่อ่านชื่อก็อิ่มแล้ว..

วิธีการเลือกซื้อมือถือ Android Phone

1. เลือกเวอร์ชั่นของ Android OS

เนื่องจาก Android(แอนดรอยด์) Phone  เป็นมือถือที่มีส่วนประกอบของ ระบบปฏิบัติการเป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นการเลือกซื้อ Android Phone จึงจำเป็นต้องพิจารณาถึง เวอร์ชั่นของ Android(แอนดรอยด์) OS ที่เราต้องการด้วยครับ ซึ่งเมื่อไปที่ร้านมือถือตั้งใจจะซื้อ Android Phone สักเครื่อง แต่แล้วเราก็จะมึนงง เพราะว่ามือถือ Android Phone แต่ละยี่ห้อใช้ Androidคนละเวอร์ชั่นแล้วเราจะเลือกยังไงกันดี แล้วเราต้องใช้รุ่นไหนยังไง.. Android Phone รุ่นไหนคุ้มไม่คุ้มยังไง… ความมืดแปดด้านของการเลือก Android Phone ก็เริ่มครอบงำเรา… งั้นเรามาดูรายละเอียดว่า Android(แอนดรอยด์) OS แต่ละรุ่นมีความสามารถอะไรกันบ้างดีกว่าครับ เราจะได้รู้ว่า โทรศัพท์ Android Phone รุ่นที่เราเล็งอยู่นั้น มันทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้บ้าง
android 1.5
Android(แอนดรอยด์) 1.5 (Cupcake)Android Phone ที่ ใช้ Android(แอนดรอยด์) 1.5 จะมีความสามารถหลักๆดังนี้ ควบคุมด้วย Touch Screen
  • ใช้นิ้วแตะเพื่อควบคุมการทำงานมือถือ
ใช้บริการ Google Service
  • Web Search
  • Gmail
  • Calendar
  • Google Map
Social Network ใช้บริการ Social Network ผ่าน App ที่น่าสนใจหลายเว็บ
  • Facebook for Android
  • Twitter for Android
การติดตั้ง โปรแกรมลงใน Android Phone
  • ลงโปรแกรมผ่าน Android Phone ผ่านส่วนเชื่อมต่อที่เรียกกว่า Android Market Place
กล้อง
  • ถ่ายรูป และ ถ่ายวีดีโอ ได้
  • Upload วีดีโอขึ้น Youtube.com และ รูปถ่ายไปยัง Picasa ได้จาก Android(แอนดรอยด์) Phone โดยตรง
ระบบเดาคำศัพท์ Text-Prediction
  • ช่วยในการพิมพ์ โดย Android Phone จะช่วยเดาว่าเรากำลังพิมพ์คำว่าอะไร เพื่อลดเวลาในการพิมพ์ข้อความ
Bluetooth
  • รองรับ Bluetooth A2DP / AVRCP
  • เชื่อมต่ออุปกรณ์ Bluetooth Handfree อัตโนมัติ(เชื่อมต่อครั้งแรกต้อง Paire Device เหมือนมือถืออื่นๆ)
Home Screen
  • สามารถวาง Widget (หน้าต่างเล็กๆเพื่อโชว์การทำงานของ App เช่น โชว์ภาพถ่าย โชว์หน้าต่างเล่นเพลง แบบ Winamp
รายการโทรศัพท์มือถือ Android Phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 1.5
android_phone_1_5

android_1_6_toppic
Android(แอนดรอยด์) 1.6 (Donut)Android Phone ที่ลงระบบ Android 1.6 จะมีความสามารถที่พัฒนาจาก Android 1.5 ดังนี้
Web History / contact list Search
  • เพิ่มการค้นหาในสถิติการใช้งานเว็บไซต์ และรายชื่อ contacts ใน Android Phone
Android(แอนดรอยด์) Phone พูดได้ Text-to-Speech
  • Android Phone สามารถพูดตามข้อความได้(text-to-speech) เช่นการอ่านข้อความ sms โดยเราไม่จำเป็นต้องอ่านเอง
Voice Control
  • โทรออกด้วยเสียง
  • Google Search ด้วยเสียง
รายการโทรศัพท์มือถือ Android(แอนดรอยด์) Phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 1.6
android_phone_1_6
android_2_1_toppic
Android(แอนดรอยด์) 2.0/2.1 (Eclair)   Android Phone ที่ลงระบบ Android 2.0/2.1 จะมีความสามารถที่พัฒนาจาก Android 1.6 ดังนี้
Performance
  • ปรับปรุงความเร็วในการทำงานของ Android ให้เร็วยิ่งขึ้น
  • ปรับปรุง User Interface
  • ปรับปรุง รายการติดต่อ(Contact Lists)
  • ปรับปรุงการแสดงผล ขาว-ดำ
  • ใช้งาน Multi-Touch Screen ได้
  • ปรับปรุง คีย์บอร์ดเสมือน(คีย์บอร์ดบนหน้าจอ)
Internet Browser
  • ปรับปรุง Internet Browser และพัฒนารองรับเทคโนโลยี HTML5
Google Service
  • ใช้ Google Maps 3.1.2
  • รองรับ Microsoft Exchange
Camera
  • รองรับการใช้ Flash สำหรับการถ่ายรูป
  • กล้องถ่ายรูป ซูมระดับดิจิตอลได้
Home Screen
  • Live Wallpapers (วอลล์เปเปอร์ แบบเคลื่อนไหวและตอบสนองการกดหน้าจอได้ เช่น หน้าจอแบบพื้นน้ำ)
Bluetooth
  • รองรับ Bluetooth 2.1
รายการโทรศัพท์มือถือ Android Phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.0/2.1
android_phone_2_0
android_2_2_toppic
Android(แอนดรอยด์) 2.2 (Froyo)Android Phone ที่ลงระบบ Android 2.2 จะมีความสามารถที่พัฒนาจาก Android 2.1 ดังนี้
Performance
  • การทำงานของ Android Phone เร็วขึ้น 5 เท่า
  • รองรับการลงโปรแกรมลงใน Memory Card
  • เปลี่ยนภาษาบน keyboard Android Phone ได้ง่ายๆ
Internet Tethering
  • ใช้ Android Phone เป็นโมเด็มสำหรับต่ออินเตอร์เน็ตให้คอมพิวเตอร์ได้(Tethering)
  • แปลงร่าง Android Phone เป็น Wifi Hotspot
Internet Browser
  • รองรับการใช้ Adobe Flash 10.1 (ทำงานเร็วขึ้น)
  • Brower ใหม่ใช้ความสามารถของ Chrome และ JavaScript Engine
  • Browser ใช้งาน file upload ได้
Google Service
  • ปรับปรุงความสามารถ Microsoft Exchange สามารถ sync ปฏิทินได้
Bluetooth
  • โทรออกด้วยเสียงผ่าน Bluetooth
รายการโทรศัพท์มือถือ Android Phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.2
android_phone_2_2

android_2_3_toppic
     Android(แอนดรอยด์) 2.3/2.4 (Gingerbread)Android Phone ที่ลงระบบ Android 2.3/2.4 จะมีความสามารถที่พัฒนาจาก Android 2.2 ดังนี้
การแสดงผล
  • รองรับหน้าจอขนาดความละเอียด WXGA (1280×768) หรือสูงกว่า
Performance
  • ปรับปรุงการทำงานให้เร็วขึ้น
  • ปรับปรุงระบบฟังก์ชั่นการทำงานของการ Copy-Paste
  • ทำการปรับปรุงระบบ Multi-Touch ของซอฟต์แวร์ keyboard
  • ปรับปรุงระบบการจัดการพลังงานแบตเตอร์รี่ให้สามารถใช้งานได้ยาวนานขึ้น
Internet Tethering
  • รองรับการสื่อสารแบบ SIP และ VoIP
Internet Browser
  • มีการเพิ่มโปรแกรม Download Manager เพื่อรองรับการดาวน์โหลดที่ต้องใช้ระยะเวลานาน
Multimedia
  • รองรับไฟล์วีดีโอประเภท WebM/VP8
  • รองรับไฟล์เสียงประเภท ACC
ด้านอื่นๆ
  • สนับสนุน Near field communication(NFC) ทำให้มือถือสามารถอ่าน RFID ได้
  • สนับสนุนระบบเซ็นเซอร์พื้นฐานต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น gyroscopes และ barometers เป็นต้น
  • สนับสนุนการทำงานร่วมกับกล้องหลายๆ ตัว
 รายการโทรศัพท์มือถือ Android Phone ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 2.3/2.4
android_phone_2_3

  

android_3_0_toppic
Android(แอนดรอยด์) 3.0 (Honeycomb)Android Phone ที่ลงระบบ Android 3.0 จะมีความสามารถที่พัฒนาจาก Android 2.3 ดังนี้
การแสดงผล
  • รองรับการแสดงผลแบบ 3D สามมิติ
  • อินเทอร์เฟซแบบใหม่เรียกว่า "Holographic" โดยเพิ่มฟีเจอร์ด้าน 3D
Performance
  • ปรับปรุงการทำงานให้เร็วขึ้น
  • ปรับปรุงระบบ Multi-Tasking
  • การสั่งงานผ่านเมนูที่ถูกซ่อนไว้จะถูกเปลี่ยนเป็น button bar ให้เห็นปุ่มชัดๆ
Internet Browser
  • ปรุงเบราว์เซอร์ให้รองรับ Tablet
  • สามารถ sync กับ Chrome Bookmarks ได้
Google Service
  • สามารถใช้งาน Google eBooks
  • รองรับการใช้งาน Google Talk ที่สนทนาผ่านวิดีโอได้
ด้านอื่นๆ
  • สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์ที่ไม่มีปุ่มจริงเช่น Tablet เพราะออกแบบมาให้รองรับ Virtual Buttons
สำหรับ โทรศัพท์ Android Phone ที่ใช้งาน Android(แอนดรอยด์) 3.0 ยังไม่มีวางจำหน่ายในปัจจุบันนะครับ แต่มีเปิดตัวในส่วนของ Tablet ไปแล้วคือ
Motorola Xoom
Acer Iconia Tab A100
Samsung Galaxy Tab 10.1 P7100

  

2. พิจารณาคุณสมบัติด้านอุปกรณ์ในตัวเครื่อง  

นอกจากจะต้องพิจารณา Android(แอนดรอยด์) OS แล้วเรายังต้องพิจารณาคุณสมบัติของอุปกรณ์ในเครื่องด้วยนะครับ ซึ่งประกอบไปด้วย
  • หน้าจอ ใช้วัสดุอะไรในการประกอบ ซึ่งมีตั้งแต่ LCD LED AMOLED หรือ Super AMOLED ตัวใหม่แบบอินเทรนด์
  • หน้าจอ รองรับการใช้ Touch screen และ multi touch screen หรือไม่
  • CPU ที่ใช้เป็นยี่ห้ออะไร มีความเร็วเท่าไหร่ โดยมีหน่วยวัดเป็น Hz นะครับ คล้ายการวัดใน cpu เครื่องคอมพิวเตอร์ และแน่นอนว่า ยิ่งมีความเร็วมาก ก็ยิ่งดีครับ(ก็จะมีราคาสูงตามนะครับ)
  • หน่วยความจำภายใน เนื่องจาก Android Phone ต้องการหน่วยความจำภายในตัวหลักในการลง Android OS และ App สำหรับการใช้งาน(สำหรับ Android 2.2 จะสามารถลง App ใน sd-card ได้ ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่มี แต่ถ้าเป็น Android(แอนดรอยด์)รุ่นต่ำกว่านี้ ต้องคิดเรื่อง ความจุของหน่วยความจำให้ดีครับ)
  • คุณภาพของเสียง ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายก็จะมี มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพเสียงที่แตกต่างกันออกไป เป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญครับ
  • อุปกรณ์รับสัญญาณ GPS เป็นชิปประมวลผลเล็กๆที่อยู่ใน Android Phone ซึ่งเจ้าตัวนี้มีผลต่อการใช้งาน Application หลายตัวเลยนะครับ Android Phone บางรุ่นมีอุปกรณ์รับสัญญาณ GPS บางตัวก็ไม่มีครับ
  • อุปกรณ์รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เข็มทิศดิจิตอล แบบที่เห็นใน iPhone นั่นเองครับ
  • คุณภาพของกล้องที่ Android Phone แต่ละรุ่นก็จะมีความสามารถในการถ่ายรูปที่ไม่เท่ากันครับ ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเลนส์และหน่วยประมวลภาพ
อย่าลืมนะครับ Android Phone ประกอบด้วยส่วนของ Android(แอนดรอยด์) OS และ คุณสมบัติด้านฮาร์ดแวร์ของตัวเครื่อง ก่อนซื้ออย่าลืมตรวจสอบว่า Android Phone ที่ซื้อนั้นเป็นไปตามความต้องการของเราจริงๆนะครับ.

บทความ/ข่าว Android อื่นๆที่น่าสนใจ  

-  Android MarketPlace เตรียมเพิ่มส่วนการดาวน์โหลด เพลง ภาพยนตร์และหนังสือ
-  HTC Flyer แท็บเล็ต Android ตัวแรกจากค่าย HTC
-  Google Music เชื่อมต่อกับ Android ได้แล้วใน Gingerbread
-  Android เป็นล่ามให้คุณได้ด้วย Google Translate “Conversation”
-  Android เวอร์ชั่นต่อไปชื่อ “ice cream sandwich”
-  G-Slate แท็บเล็ต Android 3.0 จาก LG