lamborghini

lamborghini

วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กฎข้อบังคับและมาตรฐานในระบบโทรคมนาคม

กฎข้อบังคับและมาตรฐานในระบบโทรคมนาคม
องค์การมาตรฐานทางด้านการสื่อสารที่จัดตั้งเป็นองค์การมาตรฐานแล้วและมีหน้าที่กำหนดกฎข้อบังคับต่าง ๆ ทางด้านการสื่อสารครอบคลุมสำหรับโรงงานผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการและผู้ใช้งาน ให้สามรถมีอิสระในการเลือกซื้อและใช้บริการเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU คณะกรรมการมาตรฐานด้านโทรคมนาคม T1 ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา และสมาคมอุตสาหกรรม TIA สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป ETSI คณะกรรมการเทคโนโลยีโทรคมนาคมประเทศญี่ปุ่น TTC และสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ IEEE


บทนำ
รูปแบบการสื่อสารในระยะแรก ๆ เกิดขึ้นในระดับนานาชาติ ดังนั้นองค์การมาตรฐานจึงมีการควบคุมปฏิกิริยาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงต่อสหประชาชาติ เป็นองค์การมาตรฐานประสานงานทั่วโลก มันเป็นองค์การของรัฐระหว่างประเทศผู้ซึ่งมีความสำคัญที่สุดที่ได้รับอำนาจโดยฝ่ายบริหารของประเทศต่าง ๆ ในการควบคุมของส่วนโทรคมนาคม นอกจากนี้ยังมีองค์การมาตรฐานอื่นที่จะครอบคลุมถึงทั้งในระดับภูมิภาค เช่น สถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมยุโรป ที่ระดับภาคพื้นยุโรป เป็นต้น คณะกรรมการมาตรฐานด้านโทรคมนาคม ของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา สมาคมอุตสาหกรรมโทรคมนาคม คณะกรรมการเทคโนโลยีโทรคมนาคมประเทศญี่ปุ่น


เหตุผลและความจำเป็นของการมีกฎข้อบังคับและมาตรฐาน
มาตรฐานการใช้งานเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเนื่องจากผู้ใช้งานจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการใช้มาตรฐานของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนำไปใช้งานกับระบบการสื่อสารต่าง ๆ ในระดับนานาชาติหรือระดับประเทศ เพราะมาตรฐานจะเป็นตัวกำหนดการทำงานได้ทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดการยอมรับทางเทคโนโลยีที่จะต้องใช้ร่วมกันทั้งในส่วนอุปกรณ์ และส่วนชุดคำสั่ง ระบบหรือขบวนการเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้ ดังนั้นมาตรฐานจึงมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิต ผู้ใช้ และผู้ให้บริการในแง่มุมต่าง ๆ ดังต่อไปนี้


ผลกระทบต่อผู้ผลิต
มาตรฐานเป็นสิ่งที่กำหนดความอยู่รอดของการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เลยก็ว่าได้ ถ้าหากมีการออกแบบสินค้าออกมาจำหน่ายโดยไม่ได้อ้างอิงมาตรฐาน และคุณภาพของอุปกรณ์ที่จะใช้ติดตั้ง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ส่วนอื่นได้ไม่ดีพอ ด้วยเหตุนี้ผลงานด้านการขายจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อมีการประชุมเพื่อหาข้อตกลงตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่รับรองการทำงานร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางและมั่นใจ เช่น ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไอบีเอ็ม ได้รับความน่าเชื่อถือของมาตรฐานเกี่ยวกับไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


ผลกระทบต่อผู้ใช้งาน
ถือเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับผู้ใช้งานหากได้เลือกใช้อุปกรณ์ที่มีการรับรองมาตรฐานทางอุตสาหกรรม นั่นหมายความว่า อุปกรณ์นั้น ๆ สามารถที่จะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์ยี่ห้อต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานเดียวกันได้อย่างดีไม่ว่าจะเป็นการต่อประสาน การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์และมาตรฐานอื่น ๆ ที่มี



ผลกระทบต่อผู้ให้บริการ
ผู้ให้บริการโครงข่ายจำเป็นต้องรู้ เข้าใจและติดตามมาตรฐานตั้งแต่ในขั้นตอนขบวนการจัดทำมาตรฐานและรู้มาตรฐานของผู้ผลิตไม่เพียงแต่ด้านของส่วนอุปกรณ์ แต่ต้องติดตามมาตรฐานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อจะไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตรายใดรายหนึ่ง ซึ่งอาจจะมีปัญหาในการร่วมทำงานกับมาตรฐานอื่นได้ในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการต่อประสานกับโครงข่ายอื่นหรืออุปกรณ์อื่นที่มีมาตรฐานแตกต่างกัน


องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ 
มาตรฐานทางอุตสาหกรรม และการรวมกลุ่มเพื่อสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เกิดจากการทำงานขององค์การต่าง ๆ ที่มีหน้าที่สร้างมาตรฐาน ส่วนเรื่องการตลาดและลักษณะการใช้งานได้กลายเป็นส่วนสำคัญในการทำให้เกิดมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานนี้เองที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกสรรเทคโนโลยีและความเป็นไปได้ของการนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งานได้ตามข้อกำหนดที่มีอยู่ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต แม้ว่าผลิตภัณฑ์จะผลิตขึ้นมาจากต่างบริษัทกันก็ตาม องค์การที่กำหนดมาตรฐานขึ้นมาใช้จะจัดเตรียมข้อมูลสำหรับการสร้างมาตรฐานโดยยึดหลักการในด้านการาขายหรือการตลาดและผู้ใช้งานเป็นหลัก ในขณะที่การกำหนดแนวทางในด้านอุตสาหกรรมจะกำหนดทั้งส่วนผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์และการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันเอง เพราะองค์การที่กำหนดมาตรฐานนั้นก็จะประกอบด้วยทั้งผู้ใช้งานและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์
ในปัจจุบันองค์การที่กำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรมมีความสำคัญมาก และมีองค์การต่าง ๆ ก่อตั้งขึ้นมาอีกมากมาย เพื่อสร้างมาตรฐานร่วมกันขึ้นมารองรับผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตออกวางจำหน่าย ในหัวข้อนี้เราจะกล่าวถึงองค์การมาตรฐานระหว่างประเทศก่อน ซึ่งประกอบด้วยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศถือเป็นองค์การรัฐบาลระหว่างประเทศที่มีแต่ละประเทศ สมาชิกของสหประชาชาติเป็นตัวแทน ซึ่งมีสิทธิในการออกเสียง นอกจากนี้ยังมีสมาชิกที่เป็นผู้ให้บริการ ผู้ผลิต องค์การอุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์เป็นสมาชิกร่วมทำงานแต่มีสถานะที่ต่ำกว่า หน่วยงานบริการประชาชาติแบ่งส่วนการทำให้เป็นมาตรฐานออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ ส่วนทำให้เป็นมาตรฐานโทรคมนาคม
ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ดำเนินการเกี่ยวกับการทำให้เป็นมาตรฐานโทรคมนาคม รวมถึงการสื่อสารวิทยุ กำหนดกฎข้อบังคับทางด้านโทรคมนาคม และให้การสนับสนุนประเทศที่พัฒนาระบบโทรคมนาคม
เป็นที่น่าสังเกตว่า ITU-T เป็นผู้รับช่วงของคณะกรรมการที่ปรึกษาการโทรเลขและโทรศัพท์ระหว่างประเทศ CCITT ของ ITU ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสารวิทยุ-ข่ายงาน เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานและในลักษณะคล้ายกัน ITU-R เป็นผู้รับช่วงของคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยุระหว่างประเทศและสำนักงานการจดทะเบียนความถี่ระหว่างประเทศ ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศและส่วนพัฒนาเป็นส่วนงานใหม่ที่พึ่งดำเนินการในปี พ.ศ.2532


สหภาพโทรคมนาคม-โทรคมนาคม (ITU-T)
สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ITU
ITU เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น มาจากความร่วมมือของรัฐบาลประเทศสมาชิกในอันที่จะทำให้เกิดความร่วมมือกัน เพื่อรับผิดชอบด้านการกำกับดูแล (regulation) การจัดทำมาตรฐาน (standardization) และการพัฒนากิจการโทรคมนาคมของโลก รวมทั้ง การบริหารและจัดการระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวกับสเปกตรัมความถี่วิทยุ (radiofrequency spectrum) ตลอดจนกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะนำเอาไปใช้สำหรับควบคุมการเข้าถึง (Access to) และการใช้ประโยชน์ (Use) จากวงโคจรดาวเทียม (satellite orbits) ทั้งหลายของประเทศต่างๆ


วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์หลักโดยทั่วไป ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ประกอบด้วย เพื่อให้มีการพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศของมวลสมาชิก ในอันที่จะให้มีการวิวัฒนาการ และการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับระบบและชนิดต่างๆ ของกิจการสื่อสาร โทรคมนาคม อย่างเหมาะสม
1. เพื่อส่งเสริม และให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค ต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่องที่เกี่ยวกับกิจการสื่อสาร โทรคมนาคม รวมถึงการส่งเสริมการดำเนินการด้านต่างๆ และด้านเงินทุนที่จำเป็นสำหรับใช้ดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ
2. เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาในส่วนของคุณสมบัติต่างๆ ของเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้านกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ทั้งนี้เพื่อให้มีการพัฒนาทางด้านการควบคุม และ/หรือการใช้งานอย่างเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ อีกด้วย
3. เพื่อส่งเสริมให้มีการกระจายการใช้ประโยชน์ต่างๆ ของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัยไป (เช่น บริการโทรคมนาคมพื้นฐานที่หลากหลาย และบริการเสริมอื่นๆ ตามความต้องการ) ไปสู่มวลมนุษยชาติ
4. เพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ จากการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคม ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อย่างสันติวิธี
5. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของมวลสมาชิกเพื่อจักได้บรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้



IEEE คืออะไร
       IEEE ย่อมาจาก The Institute of Electrical and Electronics Engineers คือ มาตรฐานการทำงานของระบบเครือข่ายไร้สาย ซึ่งกำหนดโดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ สถาบัน IEEE เป็นสถาบันที่กำกับ ดูแลมาตรฐานวิจัยและพัฒนาความรู้และงานวิจัยใหม่ๆ ตลอดจนเผยแพร่ความรู้ โดยเน้นด้านไฟฟ้ากำลัง คอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบวัดคุม



บทสรุปต่อมาตรฐาน Wireless-N
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้ จึงสรุปได้ว่าข้อกำหนด IEEE 802.11n หรือ Wireless-N ซึ่งมีการแจ้ง
ประชาสัมพันธ์ผ่านผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่าสามารถรองรับการสื่อสารได้ด้วยอัตราเร็วถึง 600 เมกะบิตต่อ
วินาทีนั้น แท้ที่จริงแล้วย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ บางสิ่งก็สามารถเลือกปรรับและ
กำหนดค่าได้โดยตัวผู้ใช้งาน แต่อีกหลายสิ่งก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น หากติดตั้ง
อุปกรณ์ Wireless-N โดยต้องให้ส่งกระจายความถี่ย่าน 2.4 กิกะเฮิรตซ์ หากพบว่าในพื้นที่โดยรอบมี
ผู้อื่นใช้ย่านความถี่ดังกล่าวแม้เมื่อเปลี่ยนช่องไปแล้ว ก็ไม่สามารถใช้ความถี่ได้ครบ 4 ช่อง หรืออาจจะ
เป็นเพราะตัวเครื่อง Access Point หรือเครื่องคอมพิวเตอร์อีกฝั่งหนึ่งไม่รองรับการสื่อสารแบบได้
ครบทั้ง 4 สายอากาศ หรืออาจจำเป็นต้องลดแบนด์วิดธ์ในการสื่อสารต่อช่องความถี่ลงเป็น 20
เมกะเฮิรตซ์ เหล่านี้ย่อมส่งผลลดทอนต่อัตราเร็วในการสื่อสารลงได้
การใช้งานเทคโนโลยี Wireless-N ที่ย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าย่าน 2.4 กิ
กะเฮิรตซ์ ซึ่งน่าจะมีผู้ใช้งานอยู่มาก ทั้งที่เป็นมาตรฐาน Wireless-B, Wireless-G หรือแม้กระทั่งการ
ใช้งานกับระบบสื่อสารอื่น ๆ อย่าง Bluetooth เปรียบไปก็เหมือนกับสภาพการจราจรที่ยานพาหนะ
ใช้งานกันมากมาย โดยที่ไม่มีหน่วยงานผู้มีอำนาจในการจัดสรรความถี่คลื่นวิทยุยื่นมือเข้ามาควบคุม
ด้วยเหตุที่เป็นย่านความถี่แบบ Unlicensed ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น อย่างไรก็ตามเมื่อมีการใช้งาน
เทคโนโลยี Wireless-N มากขึ้นในอนาคต ปัญหาเดียวกันก็อาจเกิดขึ้นกับย่านความถี่ 5 กิกะเฮิรตซ์ได้
ไม่ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร อย่างน้อยอัตราเร็วในการสื่อสารที่ใช้เพียงช่องความถี่เดียว (สายอากาศ
ชุดเดียว) ของมาตรฐาน Wireless-N ที่รองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงสุด 150 เมกะบิตต่อวินาที
ก็นับว่าสูงมากสำหรับการใช้งานโดยทั่วไป ยิ่งเมื่อเป็นการใช้งานภายในที่พักอาศัยในยุคที่การเชื่อมต่อ
เข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตยังต้องใช้เทคโนโลยี ADSL ที่มีอัตราเร็วในการสื่อสารไม่มากนัก เช่น 16
เมกะบิตต่อวินาทีในปัจจุบัน โดยที่ยังไม่มีเทคโนโลยีเชื่อมต่อทางเลือกอื่น ๆ ที่รองรับอัตราเร็วที่สูง
มาก ๆ เช่น เทคโนโลยี Fiber To The Home (FTTH) ปัญหาคอขวดในการสื่อสารข้อมูลก็ยังคงมีอยู่
ต่อไป เทคโนโลยี Wireless LAN ที่ตอบสนองการสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุด้วยอัตราเร็วสูง ๆ จึงอาจยังไม่
สามารถแจ้งเกิดได้สำหรับการใช้งานภายในบ้านพักอาศํย แต่สำหรับการใช้งานภายในอาคาร
สำนักงาน มหาวิทยาลัย ศุนย์การค้า สนามบิน รวมถึงพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ ที่มีการวางโครงข่ายข้อมูล
ความเร็วสูงเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เทคโนโลยี Wireless-N ก็น่าจะช่วยเพิ่มคุณภาพในการติดต่อสื่อสาร
แบบก้าวกระโดดจากมาตรฐาน Wireless LAN ที่มีใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน
ผลิตภัณฑ์ Wireless-N ในท้องตลาดมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีสนนราคาไม่ต่างจากมาตรฐาน
Wireless-B และ Wireless-G สิ่งที่เหลือนับจากนี้ไปคือการตั้งตารอการเติบโตของเทคโนโลยีเชื่อมต่อ
โครงข่ายสื่อสาร เพื่อแก้ปัญหาคอขวดดังได้กล่าวถึงไว้แล้ว และเมื่อวันนั้นมาถึงเราคงจะได้ดึง
ประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Wireless-N รวมถึงเทคโนโลยีต่อยอดอื่น ๆ ในตระกูล IEEE 802.11 กัน
ได้อย่างเต็มที่


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น