lamborghini

lamborghini

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

พื้นฐานการถ่ายภาพ : สปีดชัตเตอร์ ถ่ายภาพหยุดการเคลื่อนไหว Fast stop

กล้องถ่ายภาพแบบ DSLR สามารถหยุดภาพตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวแล้วมันทำได้อย่างไรมาดูกัน

คุณสมบัติอันโดดเด่นอีกประการหนึ่งของกล้องถ่ายภาพแบบ DSLR ก็คือความสามารถในการใช้สปีดชัตเตอร์ (Shutter Speed) ที่ มีความเร็วสูงในการหยุดภาพตัวแบบที่กำลังเคลือนไหวได้
ระบบกระจกสะท้อนภาพและม่านชัตเตอร์คือหัวใจ ของการเปิดและปิดรับแสงอย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่ไม่มีใน กล้องระดับล่างลงมา ทำให้กล้องคอมแพ็คตัวเล็กยังไม่ สามารถมีความเร็วสูงเท่ากับ DSLR ได้
ความเร็วสูงในระบบชัตเตอร์ของกล้องช่วยให้เรา สามารถที่จะบันทึกภาพหยุดการเคลื่อนไหวของวัตถุใน รูปแบบต่างๆ ได้ ซึ่งมันมีความสำคัญต่อการถ่ายภาพใน หลายๆ ลักษณะ เช่น ภาพรถยนต์กำลังวิ่ง นกบิน ภาพ กีฬา ฯลฯ ช่วยให้เราสามารถเห็นภาพการเคลื่อนไหวที่ สายตาปกติไม่สามารถมองเห็นได้ผ่านภาพถ่าย
ในวงการถ่ายภาพ ช่างภาพที่มักจะเกี่ยวข้องกับการ ใช้งานสปีดชัตเตอร์สูงๆ ได้แก่ ช่างภาพข่าว, ช่างภาพกีฬา และช่างภาพสัตว์ป่า ฯลฯ ซึ่งต้องการการหยุดความเคลื่อน ไหวที่เกิดขึ้นในเสี้ยววินาทีให้นิ่งสนิท ซึ่งหากทำไม่ได้ก็จะ หมายถึงภาพที่ไม่สามารถดูเหตุการณ์รู้เรื่องได้
ส่วนในการใช้งานกล้องถ่ายภาพทั่วๆไป โดยปกติก็มัก จะมีเหตุการณ์ที่ต้องการสปีดชัตเตอร์สูงอยู่บ่อยๆ เช่น การ ถ่ายภาพสัตว์เมื่อไปเที่ยว การถ่ายภาพเด็กๆ ในสนามเด็กเล่น การถ่ายภาพ Action ของกิจกรรมในหมู่เพื่อนฝูง แม้กระทั่ง การถ่ายภาพเพื่องานอดิเรกต่างๆ ก็ยังมีโอกาสใช้งาน อย่างเช่น ภาพมาโคร เป็นต้น
หลายๆ ครั้งที่เราใช้กล้องเพื่อถ่ายภาพจะพบว่าสาเหตุ ของการที่ภาพสั่นไหวก็เพราะการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เกินไป หรือในบางเหตุการณ์อาจจะต้องการสปีดชัตเตอร์ ที่ต่างกัน เช่น 1/125 วินาที อาจจะใช้ถ่ายภาพบุคคลได้ตาม ปกติ แต่เมื่อเป็นคนวิ่งอาจจะต้องใช้สปีดชัตเตอร์ที่สูงกว่า นั้น ไม่อย่างนั้นคนวิ่งก็อาจจะสั่น
clip_image001
หรือในการถ่ายภาพ Macro โดย ไม่ใช้ขาตั้งกล้อง (ใช้มือเปล่าจับถือ) ก็อาจจะต้องการความไวชัตเตอร์ที่สูง กว่าปกติเพื่อไม่ให้ภาพเบลออันเนื่อง มาจากการสั่นไหวของมือที่ใช้ถือกล้อง การสั่นเพียงนิดเดียวก็จะทำให้ความคมชัดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ ใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำเกินไป
ส่วนการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องก็ต้องการสปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงเช่นกัน เพื่อให้ระยะห่างของแต่ละภาพมีน้อยที่สุด จึงจะบันทึกความเคลื่อนไหวได้
clip_image002
ถึงแม้ว่าการใช้สปีดชัตเตอร์ความเร็วสูงจะมีข้อดี มากมาย แต่เราก็ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ต้องเสียไปด้วย...
การใช้ชัตเตอร์ที่มีการเปิด-ปิดอย่างรวดเร็วนั้น จะมี จุดอ่อนก็คือ การที่จะมีปริมาณของแสงผ่านเข้าสู่ชัตเตอร์ น้อยลง ซึ่งก็จะทำให้เกิดอาการภาพมืดหรือที่เรียกกันว่า Under Exposure (เรียกสั้นๆ ว่า Under)
ทางออกของปัญหานี้มีอยู่หลายทาง ขึ้นอยู่กับการ พิจารณาเลือกใช้แต่ละคุณสมบัติของเราเอง
  • เลือกใช้รูรับแสงที่กว้างขึ้น เพื่อให้แสงเข้ามาได้มากขึ้น แต่ก็จะทำให้ช่วงระยะชัดของภาพลดลง (ชัดตื้นขึ้น)
  • ปรับเพิ่มค่าความไวแสง (ISO) เพื่อให้เซ็นเซอร์ รับภาพมีการไวต่อแสงมากขึ้น ข้อเสียของคุณสมบัตินี้ก็คือ คุณภาพของภาพจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อความไวแสงยิ่งสูงขึ้น
  • ใช้อุปกรณ์หรือรอเวลาให้แสงมีปริมาณมากขึ้น เช่น การรอถ่ายภาพช่วงที่แสงสว่างจากดวงอาทิตย์มีมาก หรือการใช้อุปกรณ์เสริมแสง เช่น แฟลช ก็จะช่วยได้ในระดับ หนึ่ง การเลือกช่วงเวลาถ่ายภาพที่ดีหรือในที่กลางแจ้งจะ เอื้ออำนวยให้การใช้สปีดชัตเตอร์สูงเป็นไปได้มากขึ้น แต่ ทั้งนี้ทั้งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณาและออกแบบภาพ
ในการถ่ายภาพเพื่อควบคุมการใช้งานสปีดชัตเตอร์สูงๆ นั้น เราต้องปรับเลือกโหมดการถ่ายภาพของกล้องไปที่โหมด S (Speed Shutter Priority) หรือโหมด M (Manual)
  • โหมด S คือ การที่เราเป็นผู้เลือกปรับใช้ความเร็วชัตเตอร์เอง โดยที่ระบบของกล้องจะเลือกขนาดรูรับแสง (f) ที่เหมาะสมให้
  • โหมด M คือ การที่เราต้องปรับเลือกเองทั้งความเร็วชัตเตอร์และรูรับแสง
การที่จะใช้สปีดชัตเตอร์เท่าไหร่นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวแบบเป็นสำคัญ เช่น
  • เด็กวิ่ง 1/200 sec. ขึ้นไป
  • รถวิ่งปกติ 1/320 sec. ขึ้นไป
  • น้ำ, หยดน้ำ, คลื่นในทะเล 1/1000 sec. ขึ้นไป
โดยที่เราอาจจะต้องลองถ่ายภาพดูก่อนโดยประมาณความเร็วของสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสม จากนั้นดูภาพที่ได้ว่าช้าเกินไปหรือไม่? หรือถ้าร็วเกินไปอาจจะปรับลดลงมาได้อีกเพื่อให้ภาพสว่างขึ้น
ในส่วนของการใช้แฟลชเพื่อเพิ่ม ปริมาณแสงหรือเพื่อหยุดการเคลื่อนไหว เมื่อต้องใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ นั้น เราจะ ต้องปรับให้แฟลชสามารถทำงานสัมพันธ์ กับความเร็วในการเปิด-ปิดชัตเตอร์สูงๆ
clip_image003
โดยปกติแล้ว กล้องและแฟลชจะ ทำงานได้สัมพันธ์กันที่ความเร็วไม่เกิน 1/200 - 1/250 sec. หากชัตเตอร์เปิด- ปิดด้วยความเร็วที่สูงกว่านั้นจะทำให้ภาพ เกิดอาการดำมืดเป็นบางส่วนเนื่องจาก แฟลชยิงออกไปไม่ทันกับการปิดชัตเตอร์
ในการใช้งานแฟลชร่วมกับความไว ชัตเตอร์สูงๆ นั้น ให้เราปรับระบบของ แฟลชไปเป็นแบบHigh Speed Sync (HSS) ความเร็วสูง เพื่อให้แฟลชมีการ ยิงแสงที่ทันกับการปิดของม่านชัตเตอร์ ก็จะทำให้ไม่มีอาการภาพมืดเป็นส่วนๆ โดยเราต้องตรวจสอบวิธีการปรับมาเป็น โหมดHSS จากคู่มือของแฟลช หรือ จากคู่มือของกล้องหากเป็นการปรับเปลี่ยน ระบบให้กับแฟลชหัวกล้อง
Tip & Techniques
  • เลือกพื้นที่ที่ตัวแบบจะผ่านเข้า มาในเฟรมภาพล่วงหน้า การส่ายกล้อง ตามตัวแบบไปตลอดเวลาจะทำให้โอกาส ในการได้ภาพของเรามีน้อยลง
  • อย่าลืมสังเกตว่าขณะนั้นดวง อาทิตย์ถูกก้อนเมฆบังหรือเปล่า? การ รอให้มันออกจากก้อนเมฆจะทำให้แสง มีปริมาณมากขึ้น
  • แนบแขนกับลำตัวหรือหาที่พิง จะช่วยให้ภาพนิ่งมากขึ้น
Equipments
เลนส์ไวแสงจะช่วยให้สามารถใช้สปีดชัตเตอร์ได้สูงขึ้นโดยช่วยในเรื่อง ความสว่างของภาพ ซึ่งข้อเสียของการใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ คือมีแสงเข้าสู่ เซ็นเซอร์น้อย ทำให้ภาพมืด (Under Exposure)
อุปกรณ์เสริมหลายๆ ชนิดจะช่วย ให้การถ่ายภาพโดยใช้ความไวชัตเตอร์ สูงของเราราบรื่นมากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้น คือ เลนส์ไวแสงที่มีช่องรับแสงกว้างๆ เพราะช่วยให้ภาพสว่างมากขึ้น
ขาตั้งกล้องก็สามารถช่วยในเรื่อง นี้ได้เช่นกัน แต่เราควรจะใช้ร่วมกับ สายลั่นชัตเตอร์ และต้องเข้าใจว่าต้อง แลกมาด้วยความคล่องตัวที่จะน้อยลง อย่างแน่นอน
การ์ดหน่วยความจำที่มีความเร็วสูง จะช่วยให้การบันทึกข้อมูลเร็วขึ้น ถ่ายภาพต่อเนื่องได้ดีขึ้น
จะเห็นได้ว่าการเลือกใช้สปีดชัตเตอร์สูงๆ เพื่อหยุด การเคลื่อนไหวของตัวแบบหาใช่เพียงแค่การปรับเลือกใช้ สปีดชัตเตอร์สูงๆ เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังต้องประกอบไปด้วยความรู้ความเข้าใจ ในอีกหลายๆ ด้านในเรื่อง ของแสง จึงจะสามารถถ่ายภาพหยุดการเคลื่อนไหวแล้วได้ภาพที่ออกมาดี
อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนด้วยการปฏิบัติจริงจะเป็น สิ่งที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจทั้งหมดได้ดีที่สุด ซึ่งในขณะถ่าย ภาพอาจจะเกิดสิ่งที่อยู่นอกเหนือจากการควบคุมและเกิน คาดคิด (และหลายๆ อย่างก็ไม่เป็นไปตามที่คิด) ซึ่งความ เข้าใจในเรื่องนี้จะช่วยให้เราสามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ ดังนั้นประสบการณ์จากการฝึกฝนจริงจะสำคัญที่สุด
ที่สำคัญก็คือ ความพร้อมของอุปกรณ์ ทั้งกล้องและ อุปกรณ์เสริมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะทำให้ภาพหยุดการเคลื่อน ไหวของเราเป็นไปได้ง่ายมากขึ้น จึงควรเตรียมตัวให้พร้อม อยู่ตลอดเวลา

อ้างอิงจาก http://photographer-technical.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น